บริษัท นิโคโย่เบรค จำกัด, 45 ซอยยี่สิบสองกรกฎาคม 2, ถนนไมตรีจิตต์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพฯ 10100, ประเทศไทย

โทร 021260570

infonikoyo@gmail.com

จันทร์-ศุกร์ : 9:00 AM - 5:30 PM

วันจันทร์-วันศุกร์ 9:00AM - 5:30PM
สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไลน์บริษัท @nikoyo
บริษัท นิโคโย่เบรค จำกัด, 45 ซอยยี่สิบสองกรกฎาคม 2, ถนนไมตรีจิตต์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพฯ 10100, ประเทศไทย

3 วิธี ป้องกัน “เบรกแตก”

3 วิธี ป้องกัน “เบรกแตก”

หลาย ๆ ท่านคงเกิดคำถามในใจว่า เหตุใด จึงเกิดอาการเหยียบเบรกไม่อยู่หรือ “เบรกแตก” แล้วจะมีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไรกัน? โดยอาการ “เบรกแตก” จะเกิดขึ้นเมื่อเราเหยียบแป้นเบรกจนจมสุด แต่ระบบเบรกกลับไม่ตอบสนอง พูดง่ายๆก็คือ “ไม่สามารถชะลอรถได้ เหมือนไม่มีเบรก”

สาเหตุของอาการ “เบรกแตก”

  •  น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ จนทำให้ลูกยางในกระบอกปั๊มล้อที่ทำหน้าที่ป้องกันน้ำมันรั่ว เสื่อมสภาพตามไปด้วย จึงทำให้น้ำมันเบรกรั่วออกมา ซึ่งหากคุณอยากตรวจสอบลูกยางตัวนี้ ก็สามารถทำได้ง่าย แค่เพียงถอดล้อออก จากนั้นถอดจานเบรกแล้วเปิดยางกันฝุ่นที่ครอบตัวกระบอกปั๊มออกมา และสังเกตดู หากมีน้ำมันเบรกรั่วออกมา ก็แปลว่าลูกยางเสื่อมแล้ว จัดการเปลี่ยนได้เลย
  •   สายอ่อน หรือท่อทางเดินน้ำมันเบรกรั่ว อาการนี้ดูได้ง่ายๆ หากมีคราบ หรือรอยซึมของน้ำมันเบรกไหลออกมา
  •   แรงดันของน้ำมันเบรกมาไม่เต็มระบบ อาการนี้เกิดขึ้นเพราะมีอากาศอยู่ในระบบน้ำมันเบรก ซึ่งอาจเป็นเพราะการไล่อากาศ หรือไล่ลมออกไปไม่หมดจากระบบ เมื่อตอนเปลี่ยนน้ำมันเบรกใหม่ ฯลฯ จึงทำให้ไม่สามารถส่งแรงดันไปได้อย่างเต็มที่
  •  น้ำมันเบรกหมด หรือเหลือน้อย มันจะส่งผลทำให้เบรกใช้งานได้ไม่เต็มที่ เบรกไม่ค่อยอยู่ หรือเบรกจมลึกผิดปกติ ฯลฯ ให้ตรวจเช็ก และเติมน้ำมันเบรกให้ถึงระดับที่กำหนด
  •  น้ำมันเบรกชื้น ขณะที่กดเบรกลงไป เบรกจะมีความร้อน และการเสียดสีเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อน้ำมันเบรกมีความชื้นผสมอยู่ มันก็จะระเหยกลายเป็นไอ ลูกสูบไม่สามารถทำงานได้ จึงทำให้เบรกไม่อยู่นั่นเอง
  •  สายเบรกขาด แม้เปอร์เซ็นต์ในการเกิดขึ้นจะน้อย แต่ใช่ว่าจะไม่มีเลย ซึ่งวิธีสังเกตให้ตรวจดูใต้ท้องรถว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ และก่อนออกรถให้ทดสอบเหยียบเบรกดูก่อน ว่าเบรกอยู่รึเปล่า
  •  ผ้าเบรก หากผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกไหม้ ฯลฯ ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงที่รถของคุณจะเบรกแตกได้เช่นกัน

ข้อปฏิบัติเมื่อ “เบรกแตก”

  1. เมื่อต้องเผชิญหน้ากับอาการ“เบรกแตก” ต้องตั้งสติจับพวงมาลัยให้มั่น จำไว้ว่า “สติมา ปัญญาเกิด”
  2. เร่งเปิดไฟฉุกเฉินขึ้นทันที เพื่อเป็นสัญญาณบอกผู้ใช้ถนนคนอื่นๆรับรู้สิ่งผิดปกติ พร้อมเว้นระยะห่างจากรถคุณ
  3. ถอนเท้าออกจากคั่นเร่ง เพื่อเป็นการลดความเร็วของรถยนต์โดยเร็วที่สุด
  4. สำหรับ “เกียร์ออโตเมติก” ให้ดึงคันเกียร์จากตำแหน่ง D ลงมาที่ 3 ไล่ลงไปที่ 2 และ L ตามลำดับ หลังจากนั้นเมื่อความเร็วลดลง อย่าดึงลงไปในตำแหน่ง2หรือL ในครั้งเดียวเนื่องจากจะทำให้ “เกียร์พังและรถเสียการทรงตัว”
  5. สำหรับ “เกียร์ธรรมดา” ให้เหยียบคลัทต์แล้วไล่ลดเกียร์ลงมาเรื่อย ๆ

 

**ทั้งนี้ การใช้เกียร์ทั้ง 2 ระบบ เรายังสามารถ ดึงเบรกมือช่วยชะลอรถได้ด้วย โดยต้องค่อย ๆ ดึง ห้ามดึงสุดแรงในครั้งเดียวเพราะจะส่งผลให้รถเสียการทรงตัวจนนำมาสู่การเกิดอุบัติเหตุรถหมุนหรืออาจจะพลิกคว่ำได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อชะลอรถได้แล้วให้มองหาจุดปลอดภัยเพื่อเข้าจอด

 

“วิธีป้องกันเบรกแตก”

1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุกๆ 1 ปี

แม้ว่าไม่มีการรั่วซึมก็ตาม เนื่องจาก “น้ำมันเบรก” มีคุณสมบัติเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ดี แถมยังสามารถผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ เมื่อความชื้นเข้ามาปะปนอยู่ใน “น้ำมันเบรก” จะส่งผลให้มีจุดเดือดลดต่ำลง ยิ่งในประเทศไทยยังเป็นเขตที่มีความชื้นสูง จึงเป็นที่มาของการแนะนำให้ “เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก” ทุก 1 ปี เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรก และยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ “ลูกยางเบรกรั่วได้ง่าย”

2. ใช้ผ้าเบรกคุณภาพดี

ผ้าเบรกมีให้เลือกหลายชนิด แต่ผ้าเบรกที่ดี มีคุณภาพ จะต้องสามารถทนความร้อนได้ตามมาตรฐานครับ และเมื่อเราได้ผ้าเบรกที่มีคุณภาพดีแล้ว ให้หมั่นตรวจสอบทุกๆ 3 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร ถ้าพบว่า ผ้าเบรกหนาลงเหลือต่ำกว่า 3 มิลลิเมตร คือ ผ้าเบรกหมด ให้รีบเปลี่ยนทันที

3. อย่าปล่อยให้ จานเบรกบาง

มีหลายคนเจอปัญหาเสียงดังบริเวณล้อ และพบสาเหตุว่าเกิดจาก จานเบรกเป็นรอย จานเบรกคด หรือบิดตัว จนต้องเจียร์จาน ซึ่งการเจียร์จานจะทำให้จานเบรกบางลงครับ และถ้าจานเบรกบางลงจนถึงขีดเตือน (ขีดเตือนบนตัวจาน) แสดงว่าถึงระยะที่ต้องเปลี่ยนจานเบรกแล้ว หากไม่ยอมเปลี่ยน อาจทำให้ลูกสูบเบรกหลุด และเกิดอาการ บรกแตก ได้ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุด สำหรับการการป้องกัน “เบรกแตก” ก็คือการหมั่นดูแลระบบเบรกให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้อยู่เสมอ…นะครับ

Admin

Tags

Brakepads honda city 2012 nikoyo Nikoyo Brake NIKOYOBRAKE promotion การทำงานของระบบเบรค ขายผ้าเบรค น้ำมันเบรค ประเภทผ้าเบรค ผ้าเบรก ผ้าเบรค ผ้าเบรค almera ผ้าเบรค honda city 2012 ผ้าเบรค pajero ผ้าเบรคประกอบด้วยอะไรบ้าง ผ้าเบรคยี่ห้ออะไรดี ผ้าเบรครถยนต์ ผ้าเบรครถยนต์เซรามิค ผ้าเบรคหน้า almera ผ้าเบรคหน้า commuter ผ้าเบรคหน้า รถ commuter ผ้าเบรคหน้า รถตู้ commuter ผ้าเบรคหลัง honda city ผ้าเบรคหลัง honda city 2012 ยางรถ ยางรถยนต์ รถ รถยนต์ ระบบเบรค ระบบเบรค Commuter ระบบเบรครถยนต์ ระะบบเบรค รันอินผ้าเบรค วิธีสังเกตผ้าเบรค สัญญาณเบรคอันตราย ส่วนประกอบผ้าเบรค ส่วนประกอบ ผ้าเบรค เซรามิก อายุการใช้งานผ้าเบรค อู่รถยนต์ เบรค เบรคมือ เบรครถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ โปรโมชัน