ผ้าเบรครถยนต์ นอกจากจะมีหลายประเภทแล้ว เรื่องของ “เกรด” หรือ “ระดับ” ที่แบ่งออกตามการใช้งานบนมาตรฐานสากล ตลอดจนถึง มอก. ของไทยเราเองนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับอะไหล่ยนต์ ช่างยนต์ รวมถึงผู้ใช้งานที่ต้องการทราบข้อมูลเบื้องต้นพื้นฐาน เผื่อว่าจะซื้อผ้าเบรคไปเปลี่ยนเอง ก็สามารถติดตามเนื้อหาที่เรานำมาฝากวันนี้ได้เช่นกัน
ผ้าเบรครถยนต์ และ ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
นอกจาก ประเภทของผ้าเบรค ที่มีให้เลือกใช้หลากหลายแล้ว ยังมีเรื่องของ “เกรด” ที่แตกแขนงแยกออกไปอีก ซึ่งแบ่งวัดจาก “ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน” เป็นหลัก
ก่อนจะไปถึงเรื่องเกรดผ้าเบรค ต้องทราบความหมายของค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานเสียก่อน ซึ่งก็คือดัชนีวัดค่าความเสียดทานของวัตถุชิ้นนั้น ๆ ซึ่งในผ้าเบรคแต่ละเกรดจะมีค่าไม่เท่ากัน เรียกง่าย ๆ ก็คือค่าความฝืด ของผ้าเบรคที่แบ่งออกตามเกรดนั่นเอง
เวลาผู้ผลิตทดสอบผ้าเบรค หรือ ผู้ใช้งานที่มีความพิถีพิถันในการเลือก สามารถดูคุณสมบัติหลักได้ 2 อย่าง คือ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน และอัตราการสึกหรอในอุณหภูมิต่าง ๆ จะมีมาตรฐาน SAE ควบคุม ส่วนมาตรฐานผ้าเบรคที่นิยมในบ้านเราในบ้านเราคือ มอก 97 โดยจะใช้เครื่องทดสอบเบรกหน้าตาเหมือนรูปข้างล่าง ตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน และอัตราการสึกหรอ ในอุณหภูมิตั้งแต่ 100, 150, …, ไปเรื่อยๆถึงกว่า 350 องศาเซลเซียส
ค่ามาตรฐานสากล
เราสามารถดูค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสากลตามมาตรฐานของ SAE J866 และ DOT จะกำหนดสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัว บอก สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิต่ำ (0-200F) และสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิสูง (200-600F) ของผ้าเบรค
ผ้าเบรค OEM แทบทุกอันจะมีสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวติดอยู่เวลาเลือกใช้ผ้าเบรคทดแทนควรเลือกเบอร์ที่มีค่า ใกล้เคียงกับของทีติดรถ หรือถ้าใช้ไม่ตรงก็อาจจำเป็นต้องหมั่นดูแลเช็คตรวจสภาพอยู่เสมอ หากเป็นไปได้ควรใช้ตรงสเป็คมาตรฐานที่สุด
มอก. 97 มาตรฐานประเทศไทย
มอก. 97 เป็นมาตรฐานการกำหนดค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผ้าเบรคสําหรับรถยนต์และจักรยานยนต์ โดยสินค้าประเภท “ผ้าเบรค” ในความหมายของ มอก. 97 นี้คือ วัสดุแรงเสียดทานที่เป็นส่วนประกอบของชุดผ้าเบรค
สำหรับผลิตภัณฑ์นี้ จะมีการกำหนดค่ามาตรฐานในการทดสอบ คือ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน อัตราสึกหรอของผ้าเบรค และการทนความร้อน ซึ่งจะมีอุณหภูมิตามเกณฑ์ แบ่งตามประเภทในการทดสอบ และผ้าเบรคที่ได้คุณภาพจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้
การแบ่งระดับค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
เกรดผ้าเบรคจะมีตัวอักษรแบ่งระดับตามค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน ดังนี้
- ระดับ E: ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.25-0.35
- ระดับ F: ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.35-0.45
- ระดับ G: ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.45-0.55
- ระดับ H: ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.55-0.65
เกรดผ้าเบรคที่มีในปัจจุบัน
- เกรด EE: 0.25-0.35 สำหรับรถยนต์ยุโรปและอเมริกา ผ้าเบรคค่อนข้างใหญ่ ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานค่อนข้างต่ำ
- เกรด FE: มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.35-0.45 ในอุณหภูมิ 100-200 องศาเซลเซียส และ 0.25-0.35 ที่อุณหภูมิ 200-350 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิสูงขึ้นค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานน้อยลง)
- เกรด FF: 0.35-0.45 ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานมาตรฐานสากล
- เกรด FG: มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.35-0.45 ในอุณหภูมิ 100-200 องศาเซลเซียส และ 0.45-0.55 ที่อุณหภูมิ 200-350 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิสูงขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานมากขึ้น ระยะเบรคสั้นลง)
- เกรด GG: 0.45-0.55 สำหรับรถยุโรป โดยเฉพาะรถเยอรมัน เนื่องจากการจำกัดความเร็วในประเทศเยอรมนี ดังนั้น ค่าสัมประสิทธิ์การเสียดสีจึงสูงขึ้น
- เกรด HH: 0.55-0.65 สำหรับเบรคแข่งแบบพิเศษในกรณีที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้สามารถเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน โดยทั่วไปที่ 100 องศา Hou ค่าสัมประสิทธิ์การเสียดสี 0.08 การเพิ่มและการลบที่ 350 องศา Hou 0.1
สรุป ตัวอักษร Friction Code บอกอะไร?
รหัส Friction Code ที่เป็นตัวอักษร 2 ตัว เช่น FF สามารถอ่านค่าตามตัวอักษรที่แบ่งระดับตามค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน และผ่านการทดสอบอัตราการสึกหรอในอุณหภูมิที่กำหนดตามเกณฑ์ได้ ดังนี้
- อักษรตัวแรก หมายถึง ค่า Friction ที่อุณหภูมิ 100 – 200 องศาเซลเซียส
- อักษรตัวที่สอง หมายถึง ค่า Friction ที่อุณหภูมิ 200 – 350 องศาเซลเซียส
ตัวอย่างเช่น รหัส Friction Code – FG หมายความว่าที่ความร้อน 0-200 องศา จะมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่ 0.35-0.45 และที่ 200-350 องศา จะมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานเพิ่มขึ้นที่ 0.45-0.55 กล่าวคือยิ่งความร้อนสูงขึ้น จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสูงขึ้น มีระยะเบรคที่สั้นลงนั่นเอง
และสำหรับผ้าเบรค NIKOYO ที่รหัส Friction Code เป็น FF นั้นมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่คงที่ เนื่องจากไม่ว่าจะอุณหภูมิต่ำหรืองสูงขึ้นก็จะมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอยู่ที่ 0.35-0.45 และยังทนความร้อนได้มากถึง 550 องศาเซลเซียสอีกด้วย
เนื้อหาทั้งหมดที่นำมาแชร์กันวันนี้ เป็นข้อกำหนดของวัสดุเสียดทานมาตรฐานสูง ด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน เงื่อนไขที่แตกต่างกัน จึงมีการนำเสนอความต้องการที่แตกต่างกัน สำหรับเกรดผ้าเบรครถยนต์ของ นิโคโย่เบรค ทุกผลิตภัณฑ์จะเป็นแแบบ “เกรด FF” ซึ่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานตามมาตรฐานสากล ทำจากวัตถุดิบคุณภาพสูง สามารถใช้งานได้ดีกับการขับขี่ในเมือง